การประกันอัคคีภัย


การประกันอัคคีภัยคืออะไร
การประกันอัคคีภัย คือ ประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันไว้ จากไฟไหม้ และภัยอื่นๆ ที่ซื้อเพิ่มเติม หรือระบุไว้ในกรมธรรม์
การประกันอัคคีภัยใช้ได้กับทรัพย์สินทุกๆลักษณะที่นิยมคือประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านที่ซื้อด้วยการกู้ธนาคารจะพ่วงประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยให้ด้วยโดยผู้รับผลประโยชน์จะเป็นธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อเป็นต้น

เมื่อทำประกันอัคคีภัยจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง
การทำประกันอัคคีภัย จะได้รับความคุ้มครองภัยพื้นฐานดังนี้
1. ไฟไหม้
2. ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า)
3. ระเบิดของแก๊ส ที่ใช้สำหรับที่อยู่อาศัยเท่านั้น (หมายความว่าหากเป็นสถานประกอบการที่ใช้แก๊ส ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงบรรจุแก๊ส ไม่ได้รับความคุ้มครองนี้ ต้องซื้อเพิ่ม เป็นต้น)
4. ความเสียหายอื่นๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ชัดเจน (ตรงนี้คือภัยอื่นๆ ที่ประกันภัยแถมมาให้เพิ่มเติม หรืออาจจะต้องเสียเงินซื้อเพิ่มเติม เป็นต้น)
จะเห็นว่าภัยที่เกิดบ่อยและผู้เอาประกันหวังจะได้รับความคุ้มครองคือ ภัยจากไฟไหม้และภัยจากน้ำท่วม แต่ภัยพื้นฐานที่ประกันอัคคีภัยให้กรณีไม่ซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมนั้นไม่มีการคุ้มครองจากภัยจากน้ำท่วม

ภัยอื่นๆ ที่สามารถซื้อได้เพิ่มเติม เช่น
1. ภัยน้ำท่วม
2. ภัยลมพายุ
3. ภัยแผ่นดินไหว
4. ภัยจลาจลและนัดหยุดงาน (น่าจะสำหรับสถานประกอบการใหญ่ๆ)
นอกจาก 4 ข้อข้างต้นจะมีอีกเยอะมากที่สามารถซื้อเพิ่มได้แต่ส่วนมากจะไว้สำหรับสถานประกอบการใหญ่ๆ หากเป็นอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเช่นบ้าน คอนโด ไม่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มมากมายนักซึ่งการซื้อภัยเพิ่มจะต้องเพิ่มในส่วนของเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายแต่ละปีด้วย

มาทำความเข้าใจ ประกันอัคคีภัยธรรมดา กับประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
แรกเริ่ม ประกันอัคคีภัยมีเฉพาะประกัน ประกันอัคคีภัย ที่ให้ความคุ้มครอง ภัยพื้นฐาน 3 อย่างตามที่กล่าวมาคือ ภัยจากไฟไหม้ จากฟ้าผ่า จากการระเบิดของแก๊ส ซึ่งขายได้ทั้งบ้าน คอนโด โรงงาน โกดัง เป็นต้น

ต่อมา คปภ. ได้ร่วมมือกับ สมาคมประกันวินาศภัย ออกประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ
เพื่อดึงดูด เจ้าของที่อยู่อาศัยเช่น บ้าน คอนโด ที่ไม่ได้ประกอบกิจการอะไรเพิ่มเติมในที่อยู่อาศัยตัวเอง เพราะกลุ่มนี้ความเสี่ยงต่ำกว่า

การสร้างแรงจูงใจก็โดยการเพิ่มภัยพื้นฐานเข้าไปจากเดิม 3 อย่าง เป็น 6 อย่าง
1. ไฟไหม้
2. ฟ้าผ่า
3. การระเบิด
4. ภัยจากยานพาหนะ
5. ภัยจากอากาศยาน
6. ภัยเนื่องจากน้ำ ไม่รวมน้ำท่วม
ซึ่งถือว่าคุ้มมาก สำหรับเจ้าของที่อยู่อาศัย แทนที่จะทำประกันภัคคีภัยธรรมดา ซึ่งคุ้มครองน้อย เบี้ยแพง ก็มาทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย คุ้มครองมาก เบี้ยถูก เพราะความเสี่ยงต่ำกว่า ปล่อยให้ประกันอัคคีภัยธรรมดาไปทำตลาดกับโรงงานโกดัง สถานประกอบการคลินิก ร้านกาแฟเป็นต้น

ประโยชน์อีกข้อ สำหรับการประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย คือไม่มีการใช้หลักการเฉลี่ย เช่น
หากเป็นกรมธรรม์อัคคีภัยธรรมดา บ้านมูลค่าสิ่งปลูกสร้างไม่รวมฐานราก 1 ล้านบาท แต่ทำทุนประกัน แค่ 70% หรือ 7 แสนบาท กรณีการชดใช้ความเสียหาย เช่น เสียหายจากไฟไฟม้ 5 แสนบาท ประกันจะจ่ายสินไหมตามการเฉลี่ยที่ 70% ของความเสียหาย 5 แสน คิดเป็น 3.5 แสนบาท

แต่หากเป็นกรมธรรม์อัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย หากทำทุนประกันไม่ต่ำกว่า 70% จะไม่นำหลักการเฉลี่ยมาใช้ คือจ่ายสินไหมทดแทน 5 แสนบาทเท่าที่เสียหายจริง เป็นต้น (ชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่า)

ตารางสรุปความแตกต่างหลัก ของประกันอัคคีภัย และประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย

การประกันอัคคีภัย
การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
เจ้าของทรัพย์สินที่ซื้อได

 

ทรัพย์สินทุกอย่าง บ้าน คอนโด สถานประกอบการ โรงงาน โรงแรม โกดัง เป็นต้น

 

เฉพาะที่อยู่อาศัยเท่านั้น เช่นบ้าน คอนโด
หากมีการประกอบกิจการในบ้าน เช่น ขายอาหารจะทำไม่ได้
ภัยที่คุ้มครอง

 

ภัยพื้นฐาน 3 ภัย + ภัยที่ซื้อเพิ่มหรือระบุไว้

 

ภัยพิ้นฐาน 6 ภัย + ภัยที่ซื้อเพิ่มหรือระบุไว้
หลักการเฉลี่ย
นำหลักการเฉลี่ยมาใช้ หากทำทุนประกันไม่เต็มมูลค่า
ไม่นำหลักการเฉลี่ยมาใช้ หากทำทุนไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน

 

อัพเดต: 24 ส.ค. 57 - 18:50

ประกันภัยรถยนต์