มะเร็งตับ
มะเร็งตับ แบ่งเป็น
- มะเร็งของเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma HCC) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะเพศชาย และเป็นชนิดที่มีความรุนแรง รักษายาก จึงสร้างปัญหากับระบบสาธารณสุขไทย
- มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ (Intrahepatic Cholangiocarcinoma ICC) เป็นมะเร็งของเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีในตับ มะเร็งชนิดนี้พบบ่อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะมีอุบัติการณ์สูงกว่าทุกๆ ภาคของประเทศไทยและมากที่สุดในโลก
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มะเร็งตับในไทย เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี แบบเรื้อรัง (90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ) และอีกส่วนเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งปนเปื้อนอยู่ในเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง
ส่วนสาเหตุของ ICC ในประเทศไทยมีการศึกษาที่ชี้ชัดว่าพยาธิใบไม้ตับร่วมกับ N-Nitrosocompound มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้
อาการ
เริ่มด้วยเบื่ออาหาร แน่นท้อง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ไข้ต่ำๆ ปวดชายโครงขวา คลำได้ก้อน ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต
การวินิจฉัย
การตรวจหาสาร แอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด (alpha-fetoprotein) การอัลตราซาวด์ CT scan MRI และเจาะเนื้อตับมาตรวจ
การรักษา
การผ่าตัด การฉีดยาเข้าก้อนมะเร็ง การฉีดสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงตับ การให้ยาเคมี รังสีรักษา
การป้องกัน
การรับวัคซีนป้องกันการเกิดไว้รัสตับอักเสบ รับประทานอาหารให้ถูกตามหลัก โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อน สารพิษอะฟลาท็อกซิน
ประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งตับกับการทำประกัน
- กรณีเป็นมะเร็งตับ บริษัทประกันมักไม่รับทำประกันสุขภาพ หรือทำประกันโรคมะเร็ง
- กรณียังไม่เป็น แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ บริษัทประกันจะเช็คจากการแถลงสุขภาพ เช่น มีคำถามเรื่องการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง มักจะถูกปฎิเสธการรับทำประกันแต่แรก
- กรณีไม่มีประวัติเรื่องมะเร็งตับและทำประกันสุขภาพ ต่อมาเป็นมะเร็งหลังจากประกันเริ่มคุ้มครองไปแล้วและหรือเกินระยะรอคอยไปแล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันสุขภาพ เพราะกรมธรรม์ประกันสุขภาพไม่ได้มีข้อยกเว้นเรื่อง โรคมะเร็งตับ
- กรณีทำประกันโรคมะเร็ง และต่อมาตรวจพบโรคมะเร็งตับ ย่อมสามารถเคลมสินไหมจากประกันโรคมะเร็งได้ หากเป็นประกันมะเร็งแบบเดี่ยวที่ขายทั่วไป จะจ่ายสินไหมทั้งหมดไม่ว่าเจอระยะลุมลามหรือไม่ลุกลาม กรณีประกันมะเร็งร่วมกับโรคร้ายแรง หรือประกันมะเร็งที่เป็นอนุสัญญาของประกันชีวิต อาจจ่ายสินไหมแบบแบ่งเป็นระยะ เช่น ระยะไม่ลุกลามไม่จ่าย ระยะลุกลามจ่าย เป็นต้น ควรศึกษาถึงเงื่อนไขให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำประกันก่อนตัดสินใจซื้อ
อัพเดต: 3 ส.ค. 60 - 13:34
- มะเร็งของเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma HCC) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะเพศชาย และเป็นชนิดที่มีความรุนแรง รักษายาก จึงสร้างปัญหากับระบบสาธารณสุขไทย
- มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ (Intrahepatic Cholangiocarcinoma ICC) เป็นมะเร็งของเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีในตับ มะเร็งชนิดนี้พบบ่อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะมีอุบัติการณ์สูงกว่าทุกๆ ภาคของประเทศไทยและมากที่สุดในโลก
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มะเร็งตับในไทย เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี แบบเรื้อรัง (90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ) และอีกส่วนเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งปนเปื้อนอยู่ในเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง
ส่วนสาเหตุของ ICC ในประเทศไทยมีการศึกษาที่ชี้ชัดว่าพยาธิใบไม้ตับร่วมกับ N-Nitrosocompound มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้
อาการ
เริ่มด้วยเบื่ออาหาร แน่นท้อง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ไข้ต่ำๆ ปวดชายโครงขวา คลำได้ก้อน ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต
การวินิจฉัย
การตรวจหาสาร แอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด (alpha-fetoprotein) การอัลตราซาวด์ CT scan MRI และเจาะเนื้อตับมาตรวจ
การรักษา
การผ่าตัด การฉีดยาเข้าก้อนมะเร็ง การฉีดสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงตับ การให้ยาเคมี รังสีรักษา
การป้องกัน
การรับวัคซีนป้องกันการเกิดไว้รัสตับอักเสบ รับประทานอาหารให้ถูกตามหลัก โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อน สารพิษอะฟลาท็อกซิน
ประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งตับกับการทำประกัน
- กรณีเป็นมะเร็งตับ บริษัทประกันมักไม่รับทำประกันสุขภาพ หรือทำประกันโรคมะเร็ง
- กรณียังไม่เป็น แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ บริษัทประกันจะเช็คจากการแถลงสุขภาพ เช่น มีคำถามเรื่องการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง มักจะถูกปฎิเสธการรับทำประกันแต่แรก
- กรณีไม่มีประวัติเรื่องมะเร็งตับและทำประกันสุขภาพ ต่อมาเป็นมะเร็งหลังจากประกันเริ่มคุ้มครองไปแล้วและหรือเกินระยะรอคอยไปแล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันสุขภาพ เพราะกรมธรรม์ประกันสุขภาพไม่ได้มีข้อยกเว้นเรื่อง โรคมะเร็งตับ
- กรณีทำประกันโรคมะเร็ง และต่อมาตรวจพบโรคมะเร็งตับ ย่อมสามารถเคลมสินไหมจากประกันโรคมะเร็งได้ หากเป็นประกันมะเร็งแบบเดี่ยวที่ขายทั่วไป จะจ่ายสินไหมทั้งหมดไม่ว่าเจอระยะลุมลามหรือไม่ลุกลาม กรณีประกันมะเร็งร่วมกับโรคร้ายแรง หรือประกันมะเร็งที่เป็นอนุสัญญาของประกันชีวิต อาจจ่ายสินไหมแบบแบ่งเป็นระยะ เช่น ระยะไม่ลุกลามไม่จ่าย ระยะลุกลามจ่าย เป็นต้น ควรศึกษาถึงเงื่อนไขให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำประกันก่อนตัดสินใจซื้อ
อัพเดต: 3 ส.ค. 60 - 13:34