การนับอายุผู้เอาประกันในผลิตภัณฑ์ประกันภัย


เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว มาจากนายทะเบียนที่ควบคุมการเสนอขายกรมธรรม์
การนับอายุในผลิตภัณฑ์ประกันภัย ในต่างบริษัทกันอาจจะทำให้คิดอายุได้ไม่ตรงกัน อาจมี +/- 1 ปี เป็นต้น และในบริษัทเดียวกันแต่ต่างผลิตภัณฑ์กัน ก็อาจคิดอายุต่างกัน เช่น ประกันสุขภาพคิดแบบหนึ่ง ประกันอุบัติเหตุคิดอีกแบบหนึ่ง

จากการรวบรวมวิธีการคิดอายุเพื่อทำระบบคำนวณเบี้ย ณ ปัจจุบัน จึงสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบ

1. แบบปี - ปี โดยไม่ดู เดือนหรือวันเกิด คล้ายการคิดปี ในการเรียกเกณฑ์ทหารของชายไทย เช่น ทำประกันปี 2560 เกิดปี 2530 คิดเป็นอายุ 30 ปี ดังนั้นต้องดูเบี้ยในตารางที่เสนอขายสำหรับคนอายุ 30 ปีในการเสนอขายและออกกรมธรรม์

2. แบบที่นิยมมากที่สุด คือ เศษตั้งแต่ 6 เดือนปัดขึ้นอีก 1 ปี เช่น อายุ: 36 ปี 2 เดือน 13 วัน ใช้อายุ 36 ปีในการออกกรมธรรม์ อายุ: 36 ปี 6 เดือน ใช้อายุ 37 ปีในการออกกรมธรรม์ (อาจจะมีบางแห่งใช้ 6 เดือน 1 วัน ปัดขึ้นหาก 6 เดือนไม่ปัด)

3. เศษ ตั้งแต่ 1 วัน ปัดขึ้นเป็น 1 ปี เช่น อายุ 36 ปี 1 วัน ใช้อายุ 37 ปีในการออกกรมธรรม์

4. เศษ ปัดทิ้งหมด เช่น 36 ปี 11 เดือน 29 วัน ใช้อายุ 36 ปีในการออกกรมธรรม์

อาจเป็นไปได้ว่า การที่คิดอายุแต่ละผลิตภัณฑ์ต่างกัน หรือแต่ละบริษัทคิดต่างกัน เริ่มมาตั้งแต่การรวบรวมสถิติของสินไหม ที่จะนำมาคิดเบี้ยที่จะเสนอขาย ใช้เกณฑ์ในการรวบรวมสถิติที่ต่างกัน ส่งผลให้เวลาขายก็ต้องคิดอายุผู้เอาประกันให้ตรงกับที่คิดไว้ ทำให้อายุของแต่ละที่ก็ต่างกัน อาจสร้างปัญหา เช่น หากต้องการซื้อประกันสุขภาพของบริษัท A ต้องดูตางรางเบี้ยสำหรับคนอายุ 35 ปี แต่ถ้าซื้อของบริษัท B ต้องดูตารางเบี้ยสำหรับคนอายุ 34 ปี เป็นต้น
อัพเดต: 12 ส.ค. 60 - 15:41

ประกันภัยรถยนต์