ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล "จ่ายหลักพัน เคลมหลักแสน"
ตัวอย่าง ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล "จ่ายหลักพัน เคลมหลักแสน"
เคสนี้เป็นกรณี ที่เกิดขึ้นจริงปี 2560
ผู้เอาประกัน เพศชาย อายุ 29 ปี ซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ของบริษัทประกันแห่งหนึ่งไว้
- จ่ายเบี้ยรายปี ประมาณ 3 พันกว่าบาท
- ทุนประกัน 1 ล้าน
- วงเงินค่ารักษาจากอุบัติเหตุจำนวน 1 แสนบาท
- วงเงินค่ารักษากรณีมีกระดูกแตกหัก 3 แสนบาท
- มีวงเงินชดเชยรายได้กรณีรักษาแบบผู้ป่วยในจากอุบัติเหตุ
ผู้เอาประกันเกิดอุบัติเหตุขี่มอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชนรถยนต์ มีแผลถลอกที่หน้าแข้ง และมีปวดบวมข้อมือขวา แพทย์ตรวจแล้ววินิจฉัยว่ามีกระดูกแตกหักที่ข้อมือขวา (fracture at distal end radius) ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดและใส่แผ่นเหล็ก (plate) เพื่อดามกระดูก
ข้อเท็จจริงแล้ว การรักษา fracture at distal end radius หรือ Colles’ fracture สามารถรักษาได้ทั้งแบบไม่ผ่าตัด และผ่าตัดโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์กระดูกและข้อที่ทำการรักษา
ผลประโยชน์จากการที่ได้สมัครทำประกันอุบัติเหตุไว้
- ค่าผ่าตัดและอุปกรณ์ที่ต้องใส่ในการดามกระดูก รวมถึงการติดตามการรักษา
เคสนี้ในการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายประมาณ 135,000 บาท และมีนัดติดตามการรักษา รวมถึงล้างแผล จนกว่าจะหายเป็นปกติ ซึ่งสามารถเคลมได้ภายในหมวดความคุ้มครอง ค่ารักษากรณีมีกระดูกแตกหักต่อครั้ง ตามที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินที่ระบุไว้ในตารางคือ 3 แสนบาท
อัพเดท ณ วันที่เขียนนี้ เคสนี้สรุปค่าใช้จ่ายที่ 165,000 บาท และยังไม่เสร็จสิ้น แต่ยังมีวงเงินเหลือ 300,000- 165,000 = 135,000 บาท ซึ่งต้องใช้ในการนัดครั้งต่อไป (แต่หากเกิดอุบัติเหตุใหม่ในภายหลังจะใช้วงเงินค่ารักษาใหม่คือ 3 แสนต่อครั้งอุบัติเหตุกระดูกแตกหัก หรือ 1 แสนต่อครั้งอุบัติเหตุทั่วไป)
- ความคุ้มครองหมวดชดเชยรายได้รายวัน เคสนี้เคลมได้อีก 2000 บาท ช่วงที่ต้องนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด
ข้อดี ข้อเสีย ประกันอุบัติเหตุหรือ PA
จะเห็นว่าข้อดีการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คือ จ่ายเบี้ยน้อยแต่ได้ความคุ้มครองมาก
แม้จะไม่ได้ครอบคลุมถึงค่ารักษาที่เกิดจากการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นข้อเสีย
แต่ก็คุ้มค่ากับค่ารักษาอุบัติเหตุในปัจจุบัน ที่แพงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยเฉพาะกระดูกแตกหักร่วมด้วย
สนใจ PA ??
การทำประกัน PA ไว้ เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่คาดเดาไม่ได้ในอนาคต หากสนใจเปรียบเทียบราคาและความคุ้มครองของแต่ละบริษัท สามารถเข้าไปดูได้ที่ เปรียบเทียบแผนประกันอุบัติเหตุ
อัพเดต: 23 มี.ค. 61 - 11:22
คุณอาจสนใจ: